วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

"เฉลิม" ชำแหละ "โสภณ"

"เฉลิม" ชำแหละ "โสภณ"





สมคบ“นายกฯ-สุเทพ” ปล้นค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงกว่า6พันล. ให้ "ช.การช่าง-ซิ-โนไทย" โดย ครม.ไม่อนุมัติ

เมื่อ เวลา 15.00 น. วันนี้(1 มิ.ย.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า กระทรวงแรกที่จะไปเยี่ยม คือกระทรวงคมนาคม เพราะเกี่ยวพันกับนายกฯ เนื่องจากเป็นประธานใน ครม.และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ที่เซ็นอนุมัติเข้า ครม.กรณีนี้ทำให้เกิดความเสียหาย 6,001 ล้านบาท โดยมีการสมคบกันปล้นเอาทรัพย์สินไปให้ 2 บริษัท ช.การช่าง และบริษัทซิ-โนไทย กรณีโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง

ร.ต.อ.เฉลิม เท้าความว่า โครงการรถไฟฟ้าสีม่วงสายบางใหญ่-บางซื่อระยะทาง 46 กม. มูลค่า 36,055 ล้านบาท มติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2547สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้อนุมัติให้กระทรวงคมนาค โดย รฟม.ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ 46 กม. โดยอนุมัติให้ รฟม.กู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ เขาจึงเตรียมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ประมาณ 2,300 ล้านบาทเศษเอาไว้จ่าย เมื่อวันที่ 7 พ.ย.หลังการปฏิวัติ ครม.พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เห็นชอบในหลักการแนวทางการพัฒาระบบรถไฟสายสีม่วง และวันที่ 2 ต.ค.50  ครม.พล.อ.สุรยุทธ์ ได้เห็นชอบตามที่สภาพัฒน์ เสนออนุมัติวงเงิน 31,217 ล้านบาท ต่อมารัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช บอกว่า ราคาดังกล่าวไม่พอ เพราะเหล็กแพง นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคมขณะนั้น ได้ทำหนังสือถึง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี บอกว่า โครงการก่อสร้างงบดังกล่าวไม่พอ ขอเพิ่ม 5,000 ล้าน ตนในฐานะ รมว.มหาดไทยขณะนั้น ได้ซักว่าจะเอา 5,000 ไปทำไม แต่เมื่อฟังเหตุผลในที่สุด ครม.ก็ได้อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2552 มูลค่า 36,005 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 โครงการ คือ ค่างานตรง 29,706 ล้านบาท วงเงินสำรอง 3,972 ล้านบาท เดย์ เวิร์ค 18ล้าน และภาษีมูลค่าเพิ่ม 2359 ล้านบาท

“กรณี นี้นายกฯและนายสุเทพจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ รมว.มหาไทย อาจจะไม่ต้องติดคุก แต่ต้องเอาปี๊บคุมหัว เพราะบริษัทได้ประโยชน์ โดยค่างานตรง มี 6 สัญญา โดย สัญญาที่ 1  มูลค่า 11,009 ล้านบาท สัญญาที่ 2  มูลค่า 10,342 ล้านบาท สัญญาที่ 3 มูลค่า 4,890  สัญญาที่ 6 ยังไม่ได้ประมูล 3,465 ล้านบาท โดยสัญญาที่ 6 เป็นการก่อสร้างราง ยังไม่ได้ประมูล

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า โครงการนี้มีการเปิดซองเปิดประมุลสมัยนายโสภณ ซารัมย์ เป็น รมว.คมนาคม โดยให้รองผู้ว่า รฟม.เป็นประธานเจรจา ซึ่งรองผู้ว่า รฟม.ก็รับใช้จนตัวตาย ซึ่งจะได้ตายจริง ๆ หลังจากนั้นรองผู้ว่า รฟม.ก็ได้เป็นผู้ว่า รฟม. ทั้งนี้เมื่อวันที่ 6 ส.ค.52 นายโสภณ ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการ ครม. ให้นำเรื่องนี้เข้า ครม. สาระคือ การปรับเปลี่ยนราคาค่าก่อสร้างโดยลดเงินสำรองจ่าย 3,972 ล้านบาท เหลือ 435 ล้านบาท และยังบอกอีกว่าจะไม่คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม และเอาเงินที่ปรับลดจากส่วนต่าง ๆ นั้นไใส่ในค่างานโดยตรง จากงานที่จะทำ 4 โครงการก็เหมารวมไปไว้โครงการเดียวคือค่างานตรงซึ่เป็ค่าก่อสร้างไม่ถูก ต้อง  ถ้านายโสภณสุจริตใจจริง นายสุเทพมีความรู้ นายอภิสิทธิ์ มีความซื่อสัตย์อนุมัติออกมาได้อย่างไร แต่นี้เป็นการสมคบกันทุจริตปล้นบ้านกินเมือง

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า การรวม 4 โครงการ เอาเงินไปใส่งบก่อสร้างอย่างเดียว เป็นการโยกเงินสวนอื่นไปในงบก่อสร้าง ซึ่งถ้ารู้ว่าการก่อสร้างแพง ควรจะยกเลิกโครงการและประมูลใหม่ การโยกงบประมาณรายการอื่น ๆไปโปะไว้นงบค่างานตรงหรือค่าก่อสร้าง ก็ควรจะต้องขออนุมัติจาก ครม. เพื่อให้เกิดความชอบธรรม แต่กลับแค่เสนอให้ ครม.รับทราบ การทำแบบนี้ต่อไปหากใครมาเป็นรัฐบาจะต้องใช้เงินเพิ่มอีก 6,001 ล้านบาท กลายเป็นว่าโครงการนี้มีมูลค่า 42,000 ล้านบาท ไม่ช่ 36,000 เพราะอยู่เฉย ๆ บริษัท ช.การช่างได้เงินเพิ่ม 3,233 ล้านบาท ซิ-โนไทย ได้เงินเพิ่ม 2,658 ล้านบาท ถ้าสุจริตใจต้องยกเลิกการประมูล และให้บริษัทอื่นมาแข่งขัน ดังนั้นจึงขอสรุปว่า นายโสภณ กระทำอันเป็นความผิดในมาตรา 10 เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542  และนายกฯ นายสุเทพ ร่วมกันทุจริต ตามบทบัญญัติกฎหมายอันเดียวกัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น